การส่งออกมะม่วงไปญี่ปุ่น


การส่งออกมะม่วงไปญี่ปุ่นจะส่งออกได้เฉพาะมะม่วงสดพันธุ์หนังกลางวัน (งาช้าง) น้ำดอกไม้ แรด และพิมเสน โดยมีวิธีการกำจัดศัตรูพืชดังนี้ 

มะม่วงพันธุ์หนังกลางวันต้องถูกกำจัดแมลงวันผลไม้โดยเครื่องอบไอน้ำด้วยการใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่เป็นเวลานาน 10 นาที ที่อุณหภูมิ 46.5 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า หรือการใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่เป็นเวลานาน 20 นาที ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส หลังจากที่เพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึง 43 องศาเซลเซียส ด้วยอากาศร้อนที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ แรด และพิมเสน ต้องถูกกำจัดแมลงวันผลไม้โดยเครื่องอบไอน้ำด้วยการใช้อากาศร้อนที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิภายในสุดผลให้คงอยู่เป็นเวลานาน 20 นาที่ ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส หลังจากที่เพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึง 43 องศาเซลเซียส ด้วยอากาศร้อนที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
การดำเนินการอื่นๆ เช่น คุณสมบัติของเครื่องกำจัดแมลงวันผลไม้การบรรจุและสถานที่บรรจุหีบห่อ การตรวจสินค้านำเข้า ฯลฯ ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านกักกันพืชสำหรับมะม่วงสดที่ปลูกในประเทศไทย (บทความนี้มาจาก eThaiTrade.com)และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าไม้ และประมง ฉบับที่ 82, 1993 ของประเทศญี่ปุ่น

ก่อนส่งออกมะม่วงไปยังญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้น   ต้องใช้วิธีกำจัดแมลงวันด้วยความร้อน   กรรมวิธีอบไอน้ำปรับสภาพ

ความชื้นสัมพัทธ์ (modified  vapor  heat  treatment, MVHT)  เพื่อกำจัดไข่และตัวหนอนของแมลงวันผลไม้ 2 ชนิดได้แก่   oriental  fruit  fly,  Bactrocera dorsalis  (Hendel)   และ  Melon  fly,  B. cucurbitae  (Coquillett)   ที่อุณหภูมิผิวเมล็ดสูงถึง  47  องศาเซลเซียส   นาน  20 นาที   โดยในช่วงแรกของการเพิ่มอุณหภูมิผล มะม่วงถึง 43  องศาเซลเซียส   อากาศร้อนต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง  50 – 80  เปอร์เซ็นต์   และช่วงหลังจากผลมะม่วงอุณหภูมิ  43  องศาเซลเซียส   อากาศร้อนต้องอยู่สภาพที่อิ่มตัวด้วยความร้อน   ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 95% หลังจากจากสิ้นสุดการให้ความร้อนแล้วต้องลดอุณหภูมิผลมะม่วง   โดยเป่าด้วยลมหรือฉีดพ่นด้วยน้ำ

การกำจัดแมลงวันผลไม้มะม่วงก่อนส่งออกด้วยกรรมวิธีอบไอน้ำ   ปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์    สามารถดำเนินการได้โดยนำมะม่วงไปทำการอบได้ที่   อาคารศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักผลไม้เพื่อการส่งออก  กองปป้องกันและกำจัดศัตรูพืช   กรมส่งเสริมการเกษตร   กรุงเทพฯ (ดูที่อยู่ด้านล่าง)

การบรรจุหีบห่อและการคัดเลือกมะม่วง

ทำการคัดเลือกมะม่วงโดยใช้ระดับความสุกและน้ำหนักผล   ความสะอาด   และตำหนิ   เป็นเกณฑ์เพื่อให้เกิดความสะดวกและความสม่ำเสมอของการจัดเรียงเสมอในบรรจุภัณฑ์   และเป็นไปตามมาตรฐานมะม่วง

ขนาดมะม่วงสำหรับแปรรูป   มักใช้มะม่วงที่มีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง  170 – 350  กรัม   หรือ  3 – 6  ผลต่อกิโลกรัม   ผลมะม่วงต้องสะอาดไม่มีสิ่งปนเปื้อน   เช่น   น้ำมันโซล่า   น้ำมันเครื่อง   ดิน   หิน   กรวด   ทราย

คุณลักษณะของภาชนะบรรจุมะม่วงเพื่อการส่งออก

ขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้  ต้องเหมาะสมกับความต้องการของตลาด    มิติของบรรจุภัณฑ์ต้องเหมาะสมกับ สภาพการขนส่ง  โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้กับเพลเลท   ขนาดบรรจุที่นิยมใช้มีตั้งแต่  2-15  กิโลกรัม

บรรจุภัณฑ์ต้องให้การปกป้องผลผลิตไม่ให้เกิดการเสียหาย  ทั้งกายภาพและเชิงกล   มีความแข็งแรง  และมีความทนทานต่อการขนส่ง สามารถรองรับน้ำหนักของมะม่วง  และการวางซ้อนเรียงในขณะทำการขนย้าย จากต้นทางไปปลายทางได้

กรณีของกล่องกระดาษลูกฟูก   ความแข็งแรงของกล่องขึ้นกับชนิดของแป้งทำกาวและกระดาษลูกฟูกที่ใช้ในกระบวนการผลิตกล่อง    ชนิดกระดาษทำกล่องมะม่วงควรใช้กระดาษที่มีน้ำหนัก   กระดาษสำหรับทำผิวชั้น นอก  200  กรัมต่อตารางเมตร    และกระดาษทำผิวชั้นใน  230  กรัมต่อตารางเมตร    ส่วนกระดาษทำลอน ลูกฟูกควรอยู่ระหว่าง  125 – 160  กรัมต่อตารางเมตร

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องไม่ทำให้มะม่วงเสื่อมคุณภาพ  หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ   ที่ทำให้มะม่วงมีคุณลักษณะผิดไปจากธรรมชาติ  จึงต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดีพอ  ที่จะไม่ทำให้มะม่วงเกิดการหายใจแบบขาดออกซิเจน

บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถทนความชื้นสูงได้   ในกรณีที่ต้องเก็บมะม่วงในสภาพที่มีความชื้นสูง บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จึงต้องสะอาด   ปราศจากกลิ่นและวัตถุแปลกปลอม วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนหมึกพิมพ์หรือกาว   ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและอันตรายต่อผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสามารถส่งเสริมการขายได้บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถทำลายได้ง่าย   หรือสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ได้   เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและ/หรือเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำลาย

การส่งออกมะม่วง ใช้เอกสาร ดังนี้

ใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตร (http://thaifloriade.doae.go.th/hort_cd/html/im2.htm)

ใบรับรับรองสารตกค้างจากกรมวิชาการเกษตร กรณีส่งออกไปยังประเทศ สิงค์โปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สาธาณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สหภาพยุโรป และสหรํฐอเมริกา (ดูวิธีการขอใบรับรอง)

หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ฟอร์ม E) กรณีส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน จากกรมการค้าต่างประเทศ ประกอบการขอใช้สสิทธิลดภาษีนำเข้า

ข้อมูลจาก
http://www.ethaitrade.com/blog/169

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น