ชมบรรยากาศสวนมะม่วงของผมที่ลำพูนบ้านโฮ่ง

ชมบรรยากาศสวนมะม่วงของผมที่ลำพูนบ้านโฮ่ง

ท่ามกลางบรรยากาศของขุนเขาของรอบนอกเมืองลำพูนที่มีทั้งความสงบและบรรยากาศอันบริสุทธิ์ 
ด้วยแรงแห่งอุสาหะและศรัทธาจากผืนดินที่ว่างเปล่าและแห้งแล้งกลับพลิกพื้นสู่แผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์ ดินที่สร้างเงิน สร้างทองสร้างรายได้รายปีให้กลับครอบครัว ผืนดินที่เต็มไปด้วยสายใยความผูกพันของครอบครัว 
ชมบรรยากาศสวนมะม่วงของผมที่ลำพูนบ้านโฮ่ง
ชมบรรยากาศสวนมะม่วงของผมที่ลำพูนบ้านโฮ่ง


เทคนิคการใส่ปุ่ย ในการปลูกมะม่วง

เทคนิคการใส่ปุ่ย ในการปลูกมะม่วง

มะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายนํ้าและอากาศของดินดี จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้เป็นประจำ ทุกๆ ปี เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้งคือ ต้นฝน และปลายฝน ปุ๋ยอินทรีย์นี้ แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก   แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่นๆ   นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้นแล้วยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

             เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็ว และมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้างจะทำให้ต้นโตเร็วให้ดอกให้ผลได้มากและสมํ่าเสมอ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้าโดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมชัลเฟต 2 - 4 ช้อนแกง ผสมนํ้า 1 ปี๊บรดที่ต้นกล้าเดือนละ 2 ครั้งจะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว แข็งแรง สามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็วและเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตหรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตดี ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว


ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้วแต่ยังไม่ให้ผล อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 4-7-5 หรือ 4-9-3 ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเสียก่อน   เพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ไม่เกิดการสูญเปล่า เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสภาพแวดล้อมต่างๆของแต่ละท้องที่ย่อมไม่เหมือนกัน    ประการหนึ่งต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกลๆ ถ้าดินนั้นเป็นดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้ว ก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้ การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อยู่เสมอก็เพียงพอ

จำนวนปุ๋ยที่ใส่ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินโปร่งเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินจำนวนที่ใส่ไม่จำกัด ถ้าดินทรายจัดก็ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหน่อย    สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 นั้น จำนวนปุ๋ยที่ใส่ขึ้นอยู่กับว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด แต่มีหลักคิดอย่างคร่าวๆ ได้ดังนี้คือ จำนวนกิโลกรัมของปุ๋ยที่ใส่ต่อต้นต่อปีเท่ากับครึ่งหนึ่งของอายุของต้นมะม่วงเช่น มะม่วงอายุ 2 ปีใส่ 1 กิโลกรัม อายุ 3 ปีใส่ 1.5 กิโลกรัม อายุ 8 ปี ใส่ 4 กิโลกรัม เรื่อยไป จนถึง มะม่วงอายุ 10 ปีใส่ 5 กิโลกรัม หลังจากมะม่วงอายุ 10 ปีขึ้นไปแล้วไม่ยึดหลักดังกล่าวนี้ แต่ดูจากผลผลิตมะม่วงแต่ละปี ถ้าปีที่แล้วให้ผลมาก ก็จำ เป็นต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นตามส่วน และยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินด้วย

 วิธีใส่ปุ๋ย เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ควรใช้วิธีขุดพรวนดินตื้นๆรอบต้น ในรัศมีทรงพุ่ม แบ่งจำนวนปุ๋ยที่จะใส่ออกเป็น 4 ส่วน ใส่ปุ๋ยบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มตรงบริเวณที่พรวน ประมาณ 3 ส่วน อีก 1 ส่วน โรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ควรระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกของลำต้นเน่าและจะทำให้มะม่วงตายได้ จากนั้นจึงรดนํ้าให้ชุ่ม ส่วนในต้นที่โตแล้วอาจใช้วิธีขุดเป็นรางดินรอบต้นภายในรัศมีของทรงพุ่ม ขุดรางดินลึกประมาณ 6 นิ้ว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักลงไปในราง ตามด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วกลบดิน รดนํ้าให้ชุ่ม ส่วนภายในบริเวณทรงพุ่มให้ขุดพรวนเพียงเล็กน้อย แล้วหว่านปุ๋ยเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ใส่ปุ๋ยรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม เพราะรากที่หาอาหารได้แก่รากฝอย จะอยู่มากในบริเวณรัศมีทรงพุ่ม หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดนํ้าตาม
-ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/
      

7 เหตุผลที่การปลูกมะม่วงเจ๊ง ไม่รวยซักที

1.ใจร้อนอ่อนประสบการณ์


 มีตัวอย่างมานักต่อนัก สำหรับผู้ที่มีเงินถือว่ามีทุน ซื้อที่ซื้อทางแล้วลงปลูกมะม่วงแหลก ไม่ดูฟ้าดูน้ำ ดูฝน มีหมื่นหมดหมื่นมีล้านหมดล้าน

2.เห็นแก่ได้
 การทำงานกิจการใดก็ตามหากขาดความเป็นธรรม ละโมภโลภมาก ก็จะทำสิ่งใดไม่สำเร็จ ต้องค่อยเป็นค่อยไป
3.ไม่ศึกษาให้ดีโกงเวลา 
คนที่รู้ไม่จริงไม่เคยเปิดตำรา หรืออ่านแบบงูๆปลาๆ ไม่เคยทดลองทำ ใช้เวลาศึกษาน้อยเกินไป นำไปสู่ความรู้ไม่จริงย่อมส่งผลถึงความผิดพลาดอยู่บ่อยๆ บางครั้งอาจเสียหายโดยไม่หยั้งคิดได้

4.มุทะลุดุดัน
ความใจร้อน ก็นำมาสู่ความวิบัติต่อมะม่วงได้ ล้มทั้งยืนมานักต่อนัก เช่น เขาใส่ปุ่ยมะม่วงร่องก้นหลุมปริมาณเท่านี้เท่านั้น กลัวไม่พอจัดหนัดมุทะลุใส่เยอะ ต้นแห้งยืนตายมาหลายรายแล้วนะ หรือช่วงออกดอก จัดปุ๋ยมากไปก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ต้องใจเย็นๆ

5.ไม่มีความเอาใจใส่
อันข้อดีขอเป็นข้อที่สำคัญเลยล่ะ เพราะไม่ว่าเราจะทำงานหรือปลูกอะไรก็ตาม ถ้าไม่ใส่ใจดูแลมันเลยก็จะไม่ประสบผลสำเร็จเด็ดขาดเข้าตำรา แพ้ตั้งแต่เริ่มต้น บางคนเริ่มแรกก็ใส่ใจดีแต่พอนานๆเข้ากลับปล่อยปะละเลยปล่อยหญ้าสูงกว่าต้นมะม่วงอีกก็จบเช่นกัน เพราะมะม่วงใช้เวลานานอยู่กว่าจะให้ผลผลิต ต้องใจใจและรักในงานนี้จริงๆ

6.ขายแบบใจร้อน
ในช่วงที่มะม่วงออกผลผลิต พร้อมที่จะขายหากช่วงเวลานั้น ราคาดีก็ควรขายเลย แต่ถ้าเมื่อราคาตกต่ำไม่ดีเอามากๆเราควรจะรอราคาก่อนซักช่วง ไม่ควรรีบร้อนขายถูก เพราะถ้าอีกซักระยะราคาตีขึ้นมาจากที่เราจะได้เป็น แสนจะเหลือแค่หลักหมื่นซึงเสียโอกาสและเวลาอย่างยิ่งกับการด่วนใจร้อยรีบขาย

7.ขาดความรักในอาชีพ
ทำการงานปลูกผักปลูกพืชทุกอย่าง หากขาดซึ่งความรัก ในงานที่ทำทำแบบเหมือนโดนบังคับทำแบบขอไปที ไม่มีทางประสบความสำเร็จหรือไม่รวยแน่นอนจะพออยู่พอกินเท่านั้น อันได้นี้ได้อยู่แต่ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ฉนั้นทำสิ่งใดขอให้ทำด้วยความรัก

ขอบคุณพี่น้องชาวไทย ใจเกษตรครับแล้วพบกันใหม่ สัปดาห์หน้า

การปลูกมะม่วงให้ได้เงินล้านต่อปี

การปลูกมะม่วงให้ได้เงินล้านต่อปี เขาทำยังไงกัน



1.อันดับแรกและสำคัญ ต้องหาที่ดินปลูกมะม่วง ก่อน มะม่วงสามารถปลูกได้ทุกดินแต่ถ้าจะให้ผลผลิตสูงและออกดีต้องเป็นดินร่วน ปนหินปนทราย น้ำไม่ท่วม ไม่จำเป็นต้องรดน้ำตลอดเวลา รดพอให้ต้นเลี้ยงตัวเองได้ก็พอ การที่จะได้เงินล้านจากการปลูกมะม่วงต้องเตรียมที่ไว้ ประมาณ 20-30 ไร่

2.ต้องคัดพันธุ์ที่จะนำมาปลูก พันธุ์มะม่วงมีส่วนสำคัญ ต้องใช้พันธุ์ที่นิยม เช่น น้ำดอกไม้ อกร่อง มหาชก หรือทองดำ ที่ตลาดมีความต้องการสูง จะใช้ต้นที่เพาะจากเมล็ดเลย เพาะจะมีรากแก้วเวลาโดนลมหรือน้ำท่วมจะแข็งแรงกว่าตต้นที่ทาบ หรือเพาะมาจากกิ่ง

3.การใส่ปุ่ยก็สำคัญ ถ้าใส่มาก ต้นจะเค็มตาย การใส่ปุ๋ยต้องใส่ให้พอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ใส่ปุ๋ยรองหลุม ที่สำคัญ เน้นใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ หรือไคโตซาน ก็ดี

4.จัดการระบบน้ำให้เป็นระบบและพอเพียงต่อปริมาณต้นมะม่วง

5.รอ 5 ปีชุดแรกเริ่มออกแต่ยังไม่มาก ถ้าจะเห็นเงินล้านต้องให้ได้ประมาณ 7-8 ปี เงินล้านเห็นร่ำไรแน่นอน

6.หาทางจำหน่ายจากแนวทางอื่นๆ เช่นส่งออกนอก หรือนำไปขายเองบ้างเพื่อเพิ่มรายได้ ไม่ผ่านคนกลางยิ่งดี

แนวทางนี้ใช้ได้ผลมานักต่อนักแต่อย่ารีบร้อนต้องค่อยขยายไปเรื่อยๆ ไม่ควรทุ่มหมดหน้าตักทันทีเพราะมันต้องใช้เวลาในการปลูกมะม่วงด้วย

ปลูกมะม่วงกี่ปี่ถึงจะได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ปลูกมะม่วงกี่ปี่ถึงจะได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย


   1 ถ้าเราเลือกตอนกิ่งที่สมบูรณ์ มียอดซึ่งพร้อมที่จะออกดอก และกิ่งมีขนาดใหญ่พอ หลังจากตัดมาปลูกก็จะออกดอกมีลูกได้เลย
    2 จะมีลูกได้เลยในปีแรกถ้าเลือกทาบกิ่งที่พร้อมจะออกดอกแต่ถ้ากิ่งที่ไปทาบไม่สมบูรณ์ก็ต้องรอ 2-3 ปี สำหรับการเสียบกิ้งนั้นคงต้องรอเวลาให้ ยอดที่ไปเสียบเจริญเติบโตก่อนประมาณ 1 ปี หลังจากเสียบติดแล้ว
    3 มะม่วงเพาะจากเมล็ดออกลูกช้นเพราะต้องงอกและเจริญเติบโตจนกว่าสามารถพัฒนาต้นกิ่งก้านและใบเพื่อให้พร้อมที่จะออกดอกออกผล ถ้าเราดูแลบำรุงดีๆ และควบคุมการให้น้ำอย่างถูกต้องก็อาจจะออกดอกได้ใน 3 ปี
     4 มะม่วงที่ปลูกด้วยเมล็ดถ้าไม่มีการผสมข้ามโดยแมลงจากเกสร ต้นมะม่วงพันธุ์อื่นก็จะไม่กลายพันธุ์  แต่ถ้ามีพันธุ์อื่นอยู่แถวนั้นก็มีโอกาสกลายพันธุ์ได้แต่ก็ไม่มากนัก
     5 ได้ครับ แต่ต้องเสียบเปลี่ยนยอดใหม่ให้ติดกับพื้นดินให้มากที่สุดเพื่อให้ต้นเดิมไม่สามารถแตกกิ่งได้

เทคนิคการเตรียมดินก่อนการปลูกกมะม่วง

เทคนิคการเตรียมดินก่อนการปลูกกมะม่วง เตรียมดินยังไงให้มะม่วงออกมาต้นเจริญดี งอกงามดก

การเดรืยมดินคือ การทำดินให้เหมาะแก่การปลูกพืช และเพื่อประโยชน์อื่น ๆ เช่น เพื่อปราบวัชพืช ทำให้ดินแข็งแตกออก รักษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เพื่อให้ดินบน ซึ่งมีอาหารพืชอยู่มากกลบลงไปข้างล่าง พอเหมาะที่รากพืชจะดูดเข้าไปใช้ได้ ช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้มาก สงวนความชุ่มชื้น ช่วยทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก และเพื่อกลบเอาเศษหญ้า ปุ๋ยหรือตอซังลงไปอยู่ข้างล่าง เพื่อจะได้ผุพังกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ ต่อไป


หลักในการเตรียมดินมีดังนี้

1. เตรียมดินในช่วงเวลาที่ดินกำลังร่วนซุย คือหลังฝนตกหรือมีความชื้นพอเหมาะ

2. เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมและตกแต่งให้คมเสียก่อน

3. ปราบวัชพืชโดยการขุด ไถ พรวน คราด หรือใช้สารเคมี (ถ้าไม่จำเป็นอย่าเผาทิ้ง แต่ควรฝังลึกลงดินหรือเอาไปทำปุ๋ยหมัก)

4. ขุดหรือไถให้ลึกอย่างน้อย 15 ซ.ม. พยายามกลบวัชพืชลงไปใต้ดินและกลับผิวดินบนลงสู่ข้างล่าง ตากดินให้เเหง 2-3 วัน

5. ทำการย่อยดิน และเอาหญ้าออกโดยใช้จอบไถหรือคราด

6. วัดระยะและทำแผนผังการปลูกพืชตามต้องการ

7. ยกร่อง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยและปูนขาว ถ้าจะปลูกบนร่อง หรือขุดหลุมแลวใส่ปุ๋ย ถ้าจะปลูกในหลุม